วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ระวังไฟฟ้าดูดในฤดูฝน


เตือนภัย ระวังไฟดูดในฤดูฝน ผู้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าโปรดระวัง


ชีวิตเราไม่แน่ไม่นอน ขนาดช่างไฟฟ้ายังโดนไฟดูดตายได้เลย แล้วประสาอะไรกับผู้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเราๆ ทั้งเครื่องทน้ำอุ่น เคื่องซักผ้าและอื่นๆมากมาย
หน้าฝนนี้ หรือช่วงเวลาที่ฝนตกนั้นมีโอกาสเสี่ยงมากที่จะเกิดไฟดูด เพราะนอกจากฝนตกแล้ว ยังมีน้ำท่วมตามมาอีกนะเออ เพราะฉะนั้นควรระมัดระวังไว้เสมอเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้ารอบตัว เพราะชีวิตเราคลุกคลีอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา
ผู้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าโปรดระวัง
 จากสถิติที่ผ่านมาผู้หญิงมีโอกาสถูกไฟฟ้าดูดมากกว่าผู้ชาย และผู้หญิงที่รูปร่างอวบมีโอกาสมากกว่าผู้หญิงที่หุ่นดีเนื่องจากปริมาณน้ำในตัวมีมาก และความชื้นในตัวสูงเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี
 เพราะฉะนั้นในหน้าฝนหรือตอนที่ฝนตก เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ มักจะอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นโดยรอบมาก เช่นอ่างน้ำ เครื่องซักผ้า ตู้กดน้ำ รวมไปถึงเครื่องทำน้ำอุ่น
ผู้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าโปรดระวัง
 กรณีเกิดไฟรั่วฉับพลันตอนน้ำท่วม ให้รีบสับสวิทควบคุมกระแสไฟลงทั้งหมด เพื่อป้องกันไฟรั่ว และหลีกให้ห่างจากกระแสไฟฟ้า หรือตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความแรงของกระแสไฟฟ้าที่รั่วในน้ำนั้น จะขึ้นอยู่กับระยะทาง วิธีการง่ายๆในการตรวจสอบการรั่ว ให้เอาด้านหลังมือ สัมผัสบริเวณนั้น ไม่ควรใช้ด้านหน้าของมือ เพราะเวลาโดนไฟช็อต คนเรามักจะกำมือ
 อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อถูกน้ำท่วม ราคาก็แพงหากจะต้องนำมาใช้ใหม่ ต้องมั่นใจว่า ไม่ระเบิด!! โดยสิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ต้องรอให้แห้งก่อน และต้องไม่มีเศษหิน ดิน ทราย ติดในตำแหน่งสำคัญในการทำงาน แต่หากเห็นว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น ไม่น่ารอด ก็ไม่ควรเสี่ยงนำมาใช้งาน
 หลักการป้องกันไฟฟ้าดูด ง่ายๆเลยหากจะเสียบปลั๊กอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมั่นใจว่า ตัวเราไม่ใช่ฉนวนไฟฟ้า โดยการใส่รองเท้ายาง และทำร่างกายให้แห้งสนิท ไม่เปียกชื้น และที่สำคัญกว่านั้นคือต้องทำการเสียบปลั๊กด้วยความระมัดระวังไม่ประมาท
ผู้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าโปรดระวัง
 เครียมตัวก่อนน้ำท่วม หากเรารู้ว่าบ้านเราน้ำจะท่วมในอีกไม่นานนี้ หรือฝนใกล้จะตกหนัก สิ่งที่ต้องรีบทำคือ ควรปิดสวิทตัวเบรกเกอร์ก่อนเลย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า และหาที่อยู่ที่ไม่ใช่จุดที่มีโอกาสเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว
 หากมีคนถูกไฟฟ้าดูด บุคคลที่จะมาช่วยเหลือห้ามมีการสัมพัสร่างกายกับผู้โดนไฟดูดโดยตรง ควรหาฉนวนไฟฟ้า หรืออุปกรณ์แข็งที่ไม่นำไฟฟ้ามาใช้ดึงตัวผู้ถูกไฟดูดออกจากจุดกำเนิดไฟ และหลังจากช่วยเหลือแล้ว ผู้ถูกไฟดูดอาจหมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง ให้ทำการปั๊มหัวใจพร้อมทั้งผายปอดแบบต่อเนื่อง (ไม่ต้องกลัวไฟดูด) แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
ผู้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าโปรดระวัง
 แต่อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาเมื่อฝนตก น้ำท่วมนั้นอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่วิธีที่ดีที่สุด ควรเป็นการป้องกัน และเตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆ เช่น การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ไม่ให้เก่าเกิน 10 ปี ท่อสายไฟ ตัวจ่ายไฟ สวิทไฟ เพราะฉนวนอาจมีการเสื่อมสภาพ และการติดตั้งเต้าเสียบไฟควรอยู่ห่างจากพื้นบ้านอย่างน้อย 20 cm เพื่อความปลอดภัย

เซฟ-ที-คัท ลพบุรี

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เซฟ-ที-คัท ลพบุรี ตัวแทนจำหน่ายภาคกลาง


เซฟ-ที-คัท ลพบุรี

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 เราได้รับเกียรติจาก ดร.ณัฐพจน์  โสตถิวันวงศ์ ผู้บริหารโรงงาน เซฟ-ที-คัท โกลด์ เชิญเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้และสถานการณ์ทางการตลาดและทางผู้บริหารของ เซฟ-ที-คัท โกลด์ก็ได้เปิดตัวสินค้าใหม่พร้อมกับแถลงกลยุทธ์การตลาดและบริการลูกค้าเพื่อให้ตัวแทนเตรียมความพร้อมรองรับตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า











วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เลือกเซฟ-ที-คัทให้เหมาะสม

ตัวอย่างติดตั้งเซฟ-ที-คัท ตามความเหมาะสมแต่ละบ้าน













จำหน่ายและติดตั้ง เซฟ-ที-คัท 0812618376  036614484




วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครื่องตัดไฟรั่ว เซฟ-ที-คัท


PDFพิมพ์อีเมล
1. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว คืออะไร
เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วหรือที่รู้จักกันว่า "เครื่องกันไฟฟ้าดูด" นั้นคือ เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะทำงานตัดไฟฟ้าเมื่อ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าและกลับออกจากเครื่องฯ มีค่าไม่เท่ากัน (นั่นคือมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนรั่วหายไป)

2. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วมีประโยชน์อย่างไร
  • ใช้สำหรับตัดไฟฟ้าเมื่อมีไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นกับวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า (ป้องกันอัคคีภัย)
  • ใช้สำหรับตัดไฟฟ้าเมื่อมีไฟฟ้ารั่วไหลผ่านร่างกาย (ป้องกันไฟฟ้าดูด)
3. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วมีกี่ประเภท อะไรบ้างเครื่องตัดไฟฟ้ารั่วมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการทำงานในที่นี้จะกำหนดเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภทคือ
1. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วชนิดที่สามารถตัดกระแสลัดวงจรได้
- เครื่องชนิดนี้สามารถใช้งานได้โดยอิสระตัดได้ทั้งไฟฟ้ารั่วและกระแสลัดวงจร

2. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วชนิดที่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจรได้
- ต้องใช้ร่วมกับฟิวส์หรือเครื่องตัดกระแสลัดวงจรช่วยเสริมในกรณีที่ต้องตัดกระแสลัดวงจรด้วย
4.เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วกับสายดินอย่าไหนจะมีกว่ากัน
สายดิน เป็นความจำเป็นอันดับแรกที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีสำหรับป้องกันไฟฟ้าดูด เพื่อให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงสายดิน โดยไม่ผ่านร่างกาย (ไฟฟ้าไม่ดูด)
เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วเมื่อใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีสายดินจะเป็นมาตรการเสริม เพื่อให้มีการตัดไฟฟ้ารั่วก่อนที่จะเป็นอันตรายกับระบบไฟฟ้าหรือกับมนุษย์
เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วในระบบไฟฟ้าที่ไม่มีสายดิน จะทำงานก็ต่อเมื่อมีไฟฟ้ารั่วไหลผ่านร่างกายแล้ว (ต้องถูกไฟฟ้าดูดก่อน) ดังนั้นความปลอดภัยจึงขึ้นอยู่กับความไวในการตัดกระแสไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้า ที่ดีจึงต้องมีทั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว เพื่อความปลอดภัยทั้งจากอัคคีภัยและการถูกไฟฟ้าดูด
5. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วชนิดที่ใช้สำหรับป้องกันไฟฟ้าดูด ควรมีคุณสมบัติอย่างไร และใช้งานอย่างไร
  • ขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วที่กำหนด (IAN) ต้องไม่เกิน 30 mA (มิลลิแอมป์)
  • ระยะเวลาในการตัดกระแสไฟฟ้ารั่ว ต้องไม่เกิน 0.04 วินาทีที่ไฟฟ้ารั่ว 5 เท่า (5 IAN)
  • เครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว ต้องไม่ตัดไฟฟ้าเมื่อมีไฟฟ้ารั่วเพียงครึ่งหนึ่ง (0.5 IAN)
  • ควรติดตั้งเพื่อใช้ป้องกันอันตรายเฉพาะจุด ไม่ควรติดตั้งไว้ที่เมนสวิตช์ เช่น ให้ติดตั้งในวงจรเต้ารับที่เดินสายไฟฟ้าไปใช้งานภายนอก วงจรเต้ารับที่ใช้ในห้องครัว/ห้องน้ำ/ห้องที่มีเด็ก ๆ วงจรย่อยที่ต้องการความปลอดภัยอื่น ๆ
6. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วชนิดที่ใช้ป้องกันอัคคีภัย ควรเลือกใช้งานอย่างไร
  • ควรเลือกใช้ขนาด 100 mAหรือ 300 mA หากมีกระแสไฟฟ้ารั่วโดยธรรมชาติมากอาจใช้ขนาด 500 mA ก็ได้
  • การตัดตั้งให้ติดตั้งไว้ที่แผงรวมหรือเมนสวิตช์ และควรเลือกชนิดที่มีการหน่วงเวลา (Type S) หากมีการใช้ร่วมกันกับพวกขนาด 30 mA ในวงจรย่อยเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานพร้อมกันทั้ง
7. ทำไมเครื่องตัดไฟฟ้ารั่วจึงมักตัดไฟฟ้าบ่อย มีข้อแนะนำแก้ไขอย่างไร
  • เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วที่ตัดไฟฟ้าบ่อยมักมีสาเหตุดังนี้
    • มีการชำรุด หรือไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นจริง ๆ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบแก้ไข
    • เกิดจากฝนตก ฟ้าคะนอง หรือเมื่อมีการเปิด - ปิดสวิตช์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ข้อแนะนำสำหรับการแก้ไข
    • แยกประเภทอุปกรณ์ หรือวงจรไฟฟ้าที่มีไฟฟ้ารั่วโดยธรรมชาติที่มีค่าค่อนข้างสูงออกเป็นหลายวงจร เพื่อใช้เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วในแต่ละวงจร ซึ่งแต่ละวงจรไม่ควรมีค่าไฟฟ้ารั่วโดยธรรมชาติเกินกว่า 10 mA ตัวอย่างอุปกรณ์ที่มีไฟฟ้ารั่วมาก เช่น อุปกรณ์ที่มีมอเตอร์เครื่องปรับอากาศ ตัวเก็บประจุ อุปกรณ์หรือการเดินสายไฟฟ้าที่เปียกน้ำ เป็นต้น
    • เปลี่ยนเครื่องตัดไฟฟ้ารั่วขนาด 30 mA ให้ไปใช้กับวงจรย่อยส่วนที่แผงรวมให้ใช้ขนาด 10 mA หรือ 300 mA ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้ารั่วของวงจร
    • เลือกซื้อเฉพาะเครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว ชนิดที่ไม่ไวต่อฝนฟ้าคะนองหรือการเปิด - ปิดสวติช์
แหล่งที่มา : วารสาร "สายใจไฟฟ้า" การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค